เมนู

ถวายสลากภัตตทานเป็นอาทิ ทำพลีกรรมมุ่งถึงอารัก เทวดาจนถึงด้วยการมอบ
ปัตติทานให้ส่วนบุญแก่พรหมและเทวดาทั้งหลายและทำพลีกรรมในเวลากลาง
คืน ด้วยการยกฉัตรตามประทีปประดับมาลัย และด้วยจัดให้มีการฟังธรรม
ตลอดคืนยังรุ่งเป็นต้น มนุษย์เหล่านั้น พวกท่านจะไม่พึงอารักขาได้อย่างไร.
เพราะเหตุที่มนุษย์พวกใดทำพลีกรรมอุทิศพวกท่านทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืนอย่าง
นี้ ฉะนั้น พวกท่านโปรดรักษามนุษย์พวกนั้นเถิด. อธิบายว่า ฉะนั้น พวก
ท่านจงคุ้มครองรักษามนุษย์พวกนั้น คือเป็นผู้ไม่ประมาท ทำความเป็นผู้
กตัญญูนั้น ไว้ในดวงใจ ระลึกถึงอยู่เป็นนิตย์ จงนำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
แก่พวกเขาออกไป จงนำเข้าไปแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล.

พรรณนาคาถาว่า ยงฺกิญจิ


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงว่ามนุษย์มีอุปการะในเทวดาทั้ง
หลายอย่างนี้แล้ว จึงทรงเริ่มประกอบสัจจวจนะ. โดยนัยว่า ยงฺกิญฺจิ วิตฺตํ
ดังนี้เป็นต้น เพื่อทรงระงับอุปัทวะของมนุษย์เหล่านั้น และเพื่อการฟังธรรม
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายด้วยการประกาศคุณของพระรัตนตรัยมีพระพุทธ-
เจ้าเป็นต้น . ในสัจจวจนะนั้น บทว่า ยงฺกิญฺจิ ความว่า ท่านยึดถือไม่เหลือ
เลยโดยไม่กำหนดไว้ คือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ควรทำการแลกเปลี่ยนได้ในถิ่นนั้น ๆ.
บทว่า วิตฺตํ ได้แก่ทรัพย์. จริงอยู่ทรัพย์นั้น ชื่อว่า วิตตะ เพราะให้เกิด
ความปลื้มใจ. ทรงแสดงมนุษยโลกด้วยบทว่า อิธ วา. ทรงแสดงโลกที่เหลือ
นอกจากมนุษยโลกนั้น ด้วยบทว่า หุรํ วา. ด้วยสองบทนั้น พึงทราบว่ากิน
ความถึงนาคและสุบรรณ เป็นต้น ที่เหลือ เว้นมนุษย์และเทวดาทั้งหลายเพราะ
เมื่อพร้อมที่จะถือเอาโลกทั้งปวง เว้นมนุษย์ทั้งหลาย ก็ได้ตรัสไว้ข้างหน้า
ว่า สคฺเคสุ วา.

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใด สำหรับมนุษย์ ที่เป็นทรัพย์ใช้แลกเปลี่ยน
และที่ใช้เป็นเครื่องประดับเครื่องบริโภคและเครื่องอุปโภค มี ทอง เงิน แก้ว
มุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ แก้วประพาฬ แก้วทับทิมและแก้วลายเป็นต้น
และทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใด สำหรับนาคและครุฑเป็นต้น ที่อุบัติในภพ
ทั้งหลาย อันกว้างหลายร้อยโยชน์ในวิมานรัตนะ ณ ภาคพื้นดินที่ลาดด้วยทราย
แก้วมุกดาและแก้วมณี ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันนั้น ก็เป็นอันแสดงแล้วด้วย
บททั้งสองนี้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า สคฺเคสุ วา ได้แก่ เทวโลกที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร.
เทวโลกเหล่านั้น ชื่อว่า สัตตะ สวรรค์ เพราะดำเนินไป คือถึงได้ ด้วย
กรรมอันงาม. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัคคะ เพราะมีอารมณ์ดีเลิศ. บทว่า ยํ
ได้แก่ที่มีเจ้าของหรือไม่มีเจ้าของอันใด. บทว่า รตนํ ได้แก่ ชื่อว่า รัตนะ
เพราะนำพาให้เกิด เพิ่มพูนความยินดี. คำว่า รัตนะ นี้ เป็นชื่อของทุกสิ่ง
ที่ทำให้งดงาม มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ เห็นยาก และเป็นของบริโภคใช้สอยของ
สัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
จิตฺตีกตํ มหคฺฆญฺจ อตุลํ ทุลฺลภทสฺสนํ
อโนมสตฺตปริโภคํ รตนํ เตน วุจฺจติ.
ของที่ทำให้เขายำเกรง มีค่ามาก ชั่งไม่ได้เห็น
ได้ยาก เป็นเครื่องใช้สอยของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม ด้วย
เหตุนั้น จึงเรียกว่า รัตนะ.

บทว่า ปณีตํ ได้แก่สูงสุด ประเสริฐสุด ไม่น้อยเลย น่าเอิบอาบใจ
รัตนะใด ในสวรรค์ทั้งหลายดังนี้ แต่วิมานสุธรรมสภา ไพชยนต์ปราสาทที่
เป็นรัตนะล้วนขนาดหลายร้อยโยชน์มีเจ้าของ และรัตนะใดที่เกี่ยวข้องอยู่ใน

วิมานอันว่างเปล่าในสวรรค์ทั้งหลาย ที่ทำอบายเท่านั้น ให้เต็มปรี่ เพราะไม่ใช่
สมัยที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ไม่มีเจ้าของ ก็หรือว่ารัตนะแม้อื่นใด ที่อาศัย
อยู่ในพื้นดิน มหาสมุทร และภูเขาหิมวันต์ เป็นต้น ไม่มีเจ้าของ รัตนะอื่น
นั้น ก็เป็นอันทรงแสดงแล้วด้วยบทแห่งคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้.
ศัพท์ว่า น ในบทคาถาว่า น โน สมํ อตฺถิ ตถาคเตน ลง
ในความปฏิเสธ. ศัพท์ว่า โน ลงในความห้ามความอื่น. บทว่า สมํ ได้แก่
เทียบ. บทว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่. บทว่า ตถาคเตน ได้แก่ ด้วยพระ-
พุทธเจ้า. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. อธิบายไว้ดังนี้ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจและ
รัตนะ นั้นใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว บรรดาทรัพย์เครื่อง
ปลื้มใจ และรัตนะนั้น รัตนะแม้แต่สักอย่างหนึ่ง ซึ่งเสมอด้วยพุทธรัตนะ
ไม่มีเลย จริงอยู่ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้นั้นใด ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า
ทำให้เกิดความยำเกรง ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้น คืออะไร คือจักรรัตนะและ
มณีรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วมหาชนจะไม่ทำความเคารพ
ยำเกรงในที่อื่น ใคร ๆ ถือเอาดอกไม้และของหอมเป็นต้นแล้ว จะไม่ไปสถาน
ของยักษ์หรือสถานของภูต ชนแม้ทุกคน จะทำความเคารพยำเกรง บูชา
เฉพาะจักรรัตนะและมณีรัตนะเท่านั้น ปรารถนาพรนั้นๆ และพรบางอย่างที่
ปรารถนาแล้ว ๆ ของเขาก็สำเร็จผลได้ รัตนะแม้นั้น เสมอด้วยพุทธรัตนะ
ย่อมไม่มี.
ก็หากว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ทำให้
เกิดความเคารพยำเกรง พระตถาคตเท่านั้น ก็ชื่อว่า รัตนะ. จริงอยู่
เมื่อพระตถาคตเสด็จอุบัติแล้ว เทวดาแลมนุษย์ ผู้มีศักดิ์มาก ทุกหมู่เหล่า
เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมไม่ทำความเคารพยำเกรงในรัตนะอื่น ย่อม
ไม่บูชารัตนะไร ๆ อื่น. จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ก็บูชาพระ

ตถาคต ด้วยพวงรัตนะขนาดเท่าภูเขาสิเนรุ. และเทวดาเหล่าอื่นและมนุษย์
ทั้งหลายมีพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าโกศลและท่านอนาถบิณฑิกะ เป็นต้น
ก็บูชาตามกำลัง. พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสละพระราชทรัพย์ 96 โกฏิ
ทรงสร้างวิหาร 84,000 หลัง ทั่วชมพูทวีป อุทิศถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้เสร็จปรินิพพานแล้ว. ก็จะป่วยกล่าวไปไย สำหรับหมู่คนที่เคารพ
ยำเกรงเหล่าอื่นเล่า. อนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์ไร ๆ อื่น แม้ปรินิพพาน
แล้ว การทำความเคารพยำเกรง อุทิศสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ประกาศ
พระธรรมจักรและสถานที่ปรินิพพาน หรือเจดีย์ คือ พรูปฏิมา [พระ-
พุทธรูป ก็เป็นไปเหมือนของพระผู้มีพระภาคเจ้า. รัตนะที่เสมอด้วยพระตถา-
คต แม้เพราะอรรถว่าทำให้เกิดความเคารพยำเกรง ย่อมไม่มีด้วยประการฉะนี้.
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ แม้นั้นใด ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่ามีค่ามาก
ก็เหมือนกัน ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้น คืออะไร. คือ ผ้าแคว้นกาสี เหมือน
อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าแคว้นกาสีแม้เก่า
ก็ยังมีสีสรร มีสัมผัสสบาย และมีค่ามาก. ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้นั้น เสมอ
ด้วยพุทธะรัตนะ ย่อมไม่มี. ก็หากว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ชื่อว่ารัตนะ เพราะ
อรรถว่า มีค่ามาก. พระตถาคตเท่านั้น ชื่อว่ารัตนะ จริงอยู่ พระตถาคตทรง
รับแม้บังสุกุลจีวรของชนเหล่าใด ทานนั้นของชนเหล่านั้น ย่อมมีผลมากมีอานิ-
สงส์มาก ทั่งนี้ ก็เพราะพระตถาคตนั้นมีค่ามาก. ด้วยคำกล่าวถึงข้อที่พร-
ตถาคตทรงมีค่ามากอย่างนี้ พึงทราบบทแห่งพระสูตร ที่สาธกความไม่มีโทษ
ในข้อนี้ดังนี้ว่า
ตถาคตนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของตนเหล่าใด ทานนั้นของ
ชนเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เรากล่าว

ดังนี้ก็เพราะพระตถาคตนั้นมีค่ามาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนผ้าแคว้นกาสีนั้น มีค่ามาก แม่ฉันใด
เราก็กล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปมาฉันนั้น.

รัตนะเสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่ามีค่ามาก ย่อมไม่มีด้วยประการ
ฉะนี้.
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ แม้นั้นใด ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่า ชั่งไม่ได้
ก็เหมือนกัน. ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้น คืออะไร คือ จักรรัตนะ ของพระเจ้า
จักรพรรดิมีดุมเป็นมณีอินทนิล มีซี่เป็นรัตนะ 7,000 ซี่ มีกงแก้วประพาฬ
มีที่ต่อเป็นทองสีแดง เกิดขึ้น ซึ่งซี่กำเกลี้ยงวางบนซี่ทุกสิบซี่ รับลมแล้วจะทำ
เสียงเป็นเหมือนเสียงดนตรีเครื่อง 5 ที่ผู้ชำนาญบรรเลงแล้ว ทั้งสองข้างของ
ดุมมีหน้าราชสีห์สองหน้า ข้างในล้อรถมีรู ไม่มีคนทำหรือคนให้ทำ มัน
ตั้งขึ้นแต่อุตุ มีกรรมเป็นปัจจัย ซึ่งพระราชาทรงบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร 10
ประการแล้ว วันอุโบสถ 15 ค่ำ ทรงสนานพระเศียรแล้ว ทรงถืออุโบสถ
เสด็จขึ้นบนพระมหาปราสาท ทรงชำระศีล ประทับนั่ง แล้วจะทอดพระเนตร
เห็นจักรรัตนะปรากฏขึ้น เหมือนดวงจันทร์เพ็ญและดวงอาทิตย์ จะทรงได้ยิน
เสียงมาดังแต่ 12 โยชน์ เห็นสีสรรมาแต่ 3 โยชน์ ซึ่งมหาชนแลเห็นจะพา
กันแตกตื่นอย่างเหลือเกินว่า ชรอยดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ดวงที่ 2 เกิด
ขึ้นแล้ว แล่นมาเหนือพระนคร ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ทางด้านทิศตะวันออก
ภายในพระราชนิเวศน์แล้วหยุดอยู่เหมือนเพลาหัก ในที่ที่มหาชนควรบูชาด้วย
ของหอมและดอกไม้เป็นต้น.
หัตถิรัตนะ ช้างแก้วก็เกิดขึ้นติดตามจักรรัตนะนั้นนั่นแล คือช้าง
เผือกปลอด เท้าแดง มีกำลัง 7 ช้างสาร มีฤทธิ์ไปทางอากาศได้ มาจากช้าง

ตระกูลอุโบสถก็มี จากตระกูลช้างฉัททันต์ก็มี ถ้ามาจากตระกูลอุโบสถก็เป็นพี่
ของช้างทั้งหมด ถ้ามาจากตระกูลฉัททันต์ ก็เป็นน้องของช้างทั้งหมด มีการ
ศึกษาที่ศึกษาแล้ว ฝึกมาแล้ว ช้างนั้นพาบริษัทประมาณ 12 โยชน์ ตระเวน
ทั่วชมพูทวีป ไปแล้วกลับมาเอง ก่อนอาหารเช้านั่นแล.
อสัสรัตนะ ก็เกิดติดตามหัคถิรัตนะแม้นั้นนั่นแล คือม้าขาวปลอด
เท้าแดง ศีรษะดังกา มีผมดังหญ้ามุงกระต่าย มาจากดระกูลพระยาม้าพลาหก.
ในข้อนี้ คำที่เหลือก็เช่นเดียวกับหัตถิรัตนะนั่นแหละ.
มณีรัตนะ ก็เกิดติดตามอัสสรัตนะแม้นั้น มณีนั้นเป็นแก้วไพฑูรย์
งามโดยธรรมชาติ แปดเหลี่ยม เจียระไนอย่างดี โดยยาวก็เสมือนดุมแห่งจักร
มาจากเวปุลลบรรพต มณีนั้น ยามมืดแม้ที่ประกอบด้วยองค์ 4 อยู่ถึงยอดธง
ของพระราชา ก็ส่องแสงสว่างไปตั้งโยชน์ ซึ่งโดยแสงสว่าง พวกมนุษย์สำคัญ
ว่ากลางวัน ก็ประกอบการงาน มองเห็นโดยที่สุดแม้กระทั่งมดดำมดแดง.
อิตถีรัตนะ ก็เกิดติดตามมณีรัตนะแม้นั้นแล คือสตรีที่เป็นพระอัคร-
มเหสีโดยปกติหรือมาจากอุตตรกุรุทวีป หรือจากราชตระกูลมัททราช เว้นจาก
โทษ 6 มีสูงเกินไปเป็นต้น ล่วงวรรณะของมนุษย์ แต่ไม่ถึงวรรณะทิพย์ ซึ่ง
สำหรับพระราชา ก็จะมีกายอุ่นเมื่อยามเย็น จะมีกายเย็นเมื่อยามร้อน มีสัมผัส
เหมือนปุยนุ่นที่ชีแล้ว 7 ครั้ง กลิ่นจันทน์จะโชยออกจากกาย กลิ่นอุบลจะโชย
ออกจากปาก และเป็นผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเป็นอันมาก มีตื่นก่อนเป็นต้น.
คหปตรัตนะ ก็เกิดติดตามอิตถีรัตนะแม้นั้นแล ก็คือเศรษฐี ผู้ทำ
การงานโดยปกติของพระราชา ซึ่งพอจักรรัตนะเกิดขึ้น ก็ปรากฏทิพยจักษุ
เห็นขุมทรัพย์ได้ประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งที่ไม่มีเจ้าของ ทั้งที่มีเจ้าของ
ก็เข้าเฝ้าพระราชาทูลปรารถนาว่า ข้าแต่เทวราช ขอพระองค์โปรดทรงวาง

พระราชภาระกิจเถิด ข้าพระบาทจักทำกิจที่ควรทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของพระองค์
เองพระเจ้าข้า.
ปริณายกรัตนะ ก็เกิดติดตามคหปติรัตนะแม้นั้นแลโดยปกติ ก็คือ
พระเชษฐราชโอรสของพระราชา พอจักรรัตนะเกิดขึ้น ก็เป็นผู้ประกอบด้วย
ปัญญาความฉลาดอย่างเหลือเกิน สามารถกำหนดรู้จิตใจของบริษัทประมาณ
2 โยชน์ ด้วยใจคนแล้ว ทำการนิคคหะลงโทษและปัคคหะยกย่อง ปริณายก
นั้น ก็เข้าเฝ้าพระราชาทูลปรารถนาว่า ข้าเเต่เทวราช ขอพระองค์โปรดทรงวาง
พระราชภาระเถิด ข้าพระบาทจักบริหารราชการแผ่นดินของพระองค์เองพระ-
เจ้าข้า. ก็หรือว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้อันใด เห็นปานเป็น ชื่อว่า รัตนะ
เพราะอรรถว่าชั่งไม่ได้ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใด ไม่สามารถพินิจพิจารณา
ราคาว่า มีค่าร้อยหนึ่ง พันหนึ่ง หรือโกฏิหนึ่ง ในทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้น
แม้รัตนะสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเสมอด้วยพุทธรัตนะ ไม่มีเลย หากว่าทรัพย์เครื่อง
ปลื้มใจ ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าชั่งไม่ได้ พระตถาคตเท่านั้น ชื่อว่ารัตนะ.
จริงอยู่พระตถาคตใครๆ ก็ไม่สามารถพินิจพิจารณาโดยศีล โดยสมาธิหรือโดย
บรรดาปัญญาเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วกำหนดว่า ทรงมีพระคุณเท่านี้ ทรง
เสมอ หรือเทียบเคียงกับผู้นี้ รัตนะเสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่า
ชั่งไม่ได้ ไม่มีเลย ด้วยประการฉะนี้.
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้นั้นใด ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่า เห็นได้
ยาก ก็เหมือนกัน. ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนี้ ก็คือความเป็นของปรากฏได้ยาก
ได้แก่ พระเจ้าจักรพรรดิ และรัตนะ 7 ประการของพระเจ้าจักรพรรดินั้น
รัตนะแม้นั้น ที่เสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มี. ก็หากว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ชื่อว่า
รัตนะ เพราะอรรถว่า เห็นได้ยากไซร้ พระตถาคตเท่านั้น ชื่อว่า รัตนะ.
ความเป็นรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น จักเห็นได้ยากมาแค่ไหนเล่า.

จริงอยู่รัตนะเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นเป็นอันมาก ในกัปเดียวเท่านั้น แต่เพราะ
เหตุที่โลกต้องว่างเปล่าจากพระตถาคตนับเป็นอสงไขยกัป ฉะนั้น พระตถาคต
เท่านั้นชื่อว่าเห็นได้ยาก เพราะเกิดขึ้นบางครั้งบางคราว. สมจริงดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสมัยปรินิพพาน* ดังนี้ว่า
ดูก่อนอานนท์ เทวดาทั้งทลายกล่าวโทษว่า พวก
เราพากันมาแต่ไกล หมายจะเฝ้าพระตถาคต เพราะ
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก
ในกาลบางครั้งบางคราว วันนี้นี่แหละ ยามท้ายแห่ง
ราตรี พระตถาคตก็จักเสด็จปรินิพพาน แต่ภิกษุผู้มี
ศักดิ์มากรูปนี้ ยืนอยู่เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค
เจ้ากีดขวางอยู่ พวกเราไม่ได้โอกาสจะเฝ้าพระตถาคต

รัตนะที่เสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่าเห็นได้ยากย่อมไม่มี
ด้วยประการฉะนี้
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้นั้นได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่อง
บริโภคใช้สอยของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม ก็เหมือนกัน. ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้น
คืออะไร คือรัตนะเป็นต้นของพระเจ้าจักรพรรดิ. จริงอยู่ รัตนะนั้น
ไม่ใช่บังเกิด เพื่อเป็นเครื่องบริโภค แม้ด้วยความฝัน ของบุรุษต่ำทราม
ผู้มีตระกูลต่ำ เช่นคนจัณฑาล ช่างจักสาน พราน ช่างรถ และ คนเทขยะ
เป็นต้น ซึ่งมีทรัพย์ตั้งแสนโกฏิก็ดี อยู่บนมหาปราสาท 7 ชั้นก็ดี แต่เป็น
เครื่องบริโภคของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม เพราะบังเกิดเพื่อเป็นเครื่องบริโภคของ
พระราชามหากษัตริย์ ผู้เป็นอุภโตสุชาติ บำเพ็ญจักรวรรดิวัตร 10 ประการ
บริบูรณ์ แม้รัตนะนั้น ที่เสมอกับพุทธรัตนะ ไม่มีเลย. ก็หากว่าทรัพย์เครื่อง

1 ที่. มหา. 10/ข้อ 130

ปลื้มใจ ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องบริโภคของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม
ไซร้ พระตถาคตเท่านั้น ชื่อว่ารัตนะ. จริงอยู่ พระตถาคต มิใช่เป็นเครื่อง
บริโภคแม้ด้วยความฝันของครูทั้ง 6 มีบูรณกัสสปเป็นต้น ซึ่งสมมติกันว่าเป็น
สัตว์ต่ำทราม ผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย มีทิสสนะอันวิปริต และของสัตว์
เหล่าอื่นเห็นปานนั้น แต่เป็นเครื่องบริโภค ของเหล่าท่านผู้ถึงพร้อมด้วย
อุปนิสสัยผู้สามารถบรรลุพระอรหัต เมื่อจบคาถาแม้ 4 บท ผู้มีญาณทัสสนะ
ทำลายกิเลส มีท่านพระพาหิยทารุจีริยะเป็นต้น และของพระมหาสาวกทั้งหลาย
อื่นๆ ผู้เป็นบุตรของตระกูลใหญ่ จริงอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ไม่ต่ำทรามเหล่านั้น
เมื่อยังทัลสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ และปาริจริยานุตตริยะเป็นต้น ให้สำเร็จ
ชื่อว่าบริโภคใช้สอยพระตถาคต. รัตนะที่เสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถ
ว่าเป็นเครื่องบริโภคของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทรามไม่มีเลย ด้วยประการฉะนี้.
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้นั้นใด โดยไม่วิเศษชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถ
ว่า ให้เกิดความยินดี ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้น คืออะไร คือจักรรัตนะของ
พระเจ้าจักรพรรดิ. จริงอยู่ พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงเห็นจักรรัตนะแม้นั้นแล้ว
ก็ทรงดีพระราชหฤทัย จักรรัตนะนั้น นำความยินดีมาให้แก่พระราชา แม้
ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงจับพระสุวรรณภิงคารด้วย
พระหัตถ์ซ้าย ทรงประพรมด้วยพระหัตถ์ขวา มีพระราชโองการว่า จักรรัตนะ
จงดำเนินไป จักรรัตนะ จงมีชัยชนะ. แต่นั้น จักรรัตนะก็เปล่งเสียงไพเราะ
ดังดนตรีเครื่อง 5 เหาะไปทิศบูรพา. พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงยกจตุรงคเสนา
แผ่กว้างประมาณ 12 โยชน์ติดตามไป ด้วยอานุภาพของจักรรัตนะ ไม่สูงนัก
ไม่ต่ำนัก ภาคพื้นดินอย่างต่ำแค่ต้นไม้สูง อย่างสูงแค่ต้นไม้ต่ำ ทรงรับเครื่อง

บรรณาการจากมือของพวกที่ถือบรรณาการ มีดอกไม้ ผลไม้และหน่อไม้ใน
ต้นไม้เป็นต้นถวาย ฝ่ายพระราชาที่เคยเป็นปฏิปักษ์ ที่มาเฝ้าด้วยความเคารพ
นบนอบอย่างยิ่งว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด พระมหาราชเจ้า ก็ทรงอนุศาสน์สั่ง
สอนโดยนัยว่า ไม่ควรฆ่าสัตว์มีชีวิต ดังนี้เป็นต้น จึงเสด็จไป. ก็ในที่ใด
พระราชามีพระราชประสงค์จะเสวย หรือประสงค์จะบรรทมกลางวัน ในที่นั้น
จักรรัตนะก็จะลงจากอากาศแล้วหยุดอยู่เหมือนเพลาหัก ณ พื้นดินที่ราบเรียบ
เหมาะแก่กิจทุกอย่าง มีกิจเกี่ยวกับน้ำเป็นต้น เมื่อพระราชาเกิดจิตคิดจะเสด็จ
ไปอีก จักรรัตนะก็กระทำเสียงโดยนัยก่อนนั่นแล จึงแล่นไป. ฝ่ายบริษัท
[ขบวนทัพ] ขนาด 2 โยชน์ ได้ยินเสียงนั้น ก็พากันเหาะไป. จักรรัตนะ
ลงสู่มหาสมุทรทิศบูรพาโดยลำดับ เมือจักรรัตนะนั้น ลงสมุทรน้ำก็หดตัวไป
ประมาณโยชน์หนึ่ง หยุดนิ่งเหมือนทำความจงรักภักดี. มหาชนก็ถือรัตนะทั้ง
7 ตามความต้องการ พระราชาทรงจับสุวรรณภิงคารอีก ทรงประพรมด้วย
น้ำว่า ราชกิจของเราดำเนินตั้งต้นแต่นี้ไป แล้วเสด็จกลับ . กองทัพอยู่ข้างหน้า
จักรรัตนะอยู่ข้างหลัง พระราชาอยู่กลาง. น้ำเข้าเต็มที่ตลอดสถานที่จักรรัตนะ
ถอนตัวไป. จักรรัตนะก็ไปในสมุทรด้านทิศทักษิณ ทิศปัศฉิม และทิศอุดร
โดยอุบายนี้นี่แล.
จักรรัตนะตระเวนไปตลอด ทิศอย่างนี้แล้ว ก็ขึ้นสู่อากาศประมาณ
300 โยชน์. พระราชาประทับยืนบนจักรรัตนะนั้น ทรงพิชิตชัยชนะด้วย
อานุภาพจักรรัตนะ ทรงตรวจดูจักรวาลหนึ่ง ซึ่งประดับ ด้วยทวีปใหญ่ 4 ทวีป
และทวีปน้อย 2,000 ทวีป เหมือนสวนบัวบุณฑริกที่บานเต็มที่แล้ว อย่างนี้
คือ บุพพวิเทหทวีป ประดับด้วยทวีปน้อย 500 ทวีป มีปริมณฑล 7,000
โยชน์ อุตตรกุรุทวีปก็เหมือนกัน มีปริมณฑล 8,000 โยชน์ อปรโคยาน-

ทวีป มีปริมณฑล 7,000 โยชน์เหมือนกัน และชมพูทวีป มีปริมณฑล
1,000 โยชน์. พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้น กำลังทรงตรวจดูอย่างนี้ ก็
ทรงเกิดความยินดีมิใช่น้อยเลย จักรรัตนะนั้น ให้เกิดความยินดีแก่พระราชา
แม้ด้วยอาการอย่างนี้. จักรรัตนะแม้นั้น ที่เสมอด้วยพุทธรัตนะ หามีไม่.
ก็หากว่าชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าให้เกิดความยินดีไซร้ พระตถาคต
เท่านั้น ชื่อว่า รัตนะ จักรรัตนะอย่างเดียว จักทำอะไรได้.

จริงอยู่ ความยินดีในจักรวรรดิ ที่รัตนะแม้ทุกอย่างมีจักรรัตนะเป็น
ต้นทำให้เกิด ก็ยังไม่นับไม่เท่าเสี้ยว แม้ส่วนของความยินดี ที่เป็นทรัพย์อัน
ใด พระตถาคตทรงทำให้เกิดความยินดีในปฐมฌาน ความยินดีในปรมฌาณ
ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ความยินดีในอากาสานัญ-
จายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานา
สัญญายตนฌาน ความยินดีในโสดาปัตติมรรค ความยินดีในโสดาปัตตผล
และสกทามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค
และอรหัตผลแก่เทวดาและมนุษย์ นับจำนวนไม่ได้ ผู้รับสนองพระโอวาท
ของพระองค์. ยิ่งกว่า ประณีตกว่า ความยินดีแม้อันนั้น รัตนะเสมอด้วย
พระตถาคต แม้เพราะอรรถว่าให้เกิดความ ยินดี ไม่มีด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง ธรรมดารัตนะนี้มี 2 อย่าง คือ สวิญญาณกรัตนะ และ
อวิญญาณกรัตนะ. บรรดารัตนะทั้งสองนั้น อวิญญาณกรัตนะ ได้แก่
จักรรัตนะ และมณีรัตนะ ก็หรือรัตนะแม้อื่นใด มีทองและเงินเป็นต้นที่เกี่ยว
เนื่องด้วยอนินทรีย์, สวิญญาณกรัตนะ ได้แก่ รัตนะมีหัตถิรัตนะเป็นต้นมี
ปริณายกรัตนะเป็นที่สุด ก็หรือว่า รัตนะแม้อื่นใดเป็นปานนั้น ที่เกี่ยวเนื่อง
ด้วยอินทรีย์. เมื่อเป็นดังนั้น ในรัตนะทั้งสองอย่าง สวิญญาณกรัตนะกล่าว

กันว่าเป็นเลิศ ในข้อนี้. เพราะเหตุไร. เพราะเหตุว่า รัตนะมีทอง เงิน
แก้วมณี แก้วมุกดาเป็นต้น ถูกนำเข้าไปใช้เป็นเครื่องประดับของหัตถิรัตนะ
เป็นต้น ที่เป็นสวิญญาณกรัตนะ.
แม้สวิญญาณกรัตนะ ก็มี 2 อย่าง คือรัตนะที่เป็นสัตว์เดียรฉาน
และรัตนะที่เป็นมนุษย์. บรรดาสวิญญาณกรัตนะ 2 อย่างนั้น รัตนะที่เป็น
มนุษย์กล่าวกันว่าเป็นเลิศ. เพราะเหตุไร. เพราะเหตุว่า รัตนะที่เป็นสัตว์
เดียรัจฉาน ย่อมเป็นพาหนะของรัตนะที่เป็นมนุษย์. แม้มนุสสรัตนะก็มี 2 อย่าง
คืออิตถีรัตนะ และปุริสรัตนะ. บรรดามนุสสรัตนะทั้งสองนั้น ปุริสรัตนะ
กล่าวกันว่าเป็นเลิศ. เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า อิตถีรัตนะต้องเป็นบริจาริกา
ของปรุสรัตนะ. แม้ปริสรัตคนะก็มี 2 คือ. อนคาริกรัตนะ และอนคาริกรัตนะ
บรรดาปุริสรัตนะ
ทั้ง 2 นั้น . อนคาริกรัตนะ กล่าวกันว่าเป็นเลิศ. เพราะ
เหตุไร เพราะเหตุว่า ในอคาริกรัตนะ แม้พระเจ้าจักรพรรดิเป็นเลิศ ก็ยัง
ไหว้อนคาริกรัตนะ. ผู้กอปรด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ บำรุง
นั่งใกล้ ประสบสมบัติที่เป็นทิพย์และมนุษย์ บรรลุนิพพานสมบัติในที่สุด
เมื่อเป็นดังนั้น แม้อนคาริกรัตนะ ก็มี 2 อย่าง คือ อริยรัตนะ
และปุถุชนรัตนะ.

แม้อริยรัตนะ ก็มี 2 อย่าง คือเสขรัตนะ และอเสขรัตนะ
แม้อเสขรัตนะ ก็มี 2 อย่าง คือ สุกขวิปัสสกรัตนะ และ
สมาถยานิกรัตนะ.
แม้้สมถยานิกรัตนะ ก็มี 2 อย่าง คือที่บรรลุสาวกบารมี และไม่
บรรลุ.

บรรดาสมถยานิกรัตนะทั้งสองนั้น สมถยานิกรัตนะที่บรรลุสาวกบารมี
กล่าวกันว่าเป็นเลิศ เพราะเหตุไร. เพราะเหตุว่า มีคุณมาก. ปัจเจกพุทธ-
รัตนะ กล่าวกันว่าเป็นเลิศ แม้กว่าสาวกปารมีปัตตรัตนะ. เพราะเหตุไร.
เพราะเหตุว่า มีคุณมาก. พระสาวกหลายร้อย แม้เช่นท่านพระสารีบุตร ท่าน
พระโมคคัลลานะ ก็ไม่ถึงแม้ส่วนร้อยแห่งคุณทั้งหลายของพระปัจเจกพุทธเจ้า
องค์เดียว.
สัมมาสัมพุทธรัตนะ กล่าวกันว่าเป็นเลิศ แม้กว่าปัจเจกพุทะรัตนะ
เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า มีคุณมาก. ก็หากว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
นั่งขัดสมาธิเบียดกัน ทั่วทั้งชมพูทวีป ก็ไม่เท่า ไม่เท่าเสี้ยว ไม่เท่าส่วนเสี้ยว
แห่งพระคุณทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว. สมจริงดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่
เท้าหรือ ฯลฯ พระตถาคตกล่าวกันว่า เป็นเลิศแห่งสัตว์เหล่านั้น
เป็นต้น.
รัตนะที่เสมอด้วยพระตถาคต ไม่มีเลย โดยปริยายบางอย่าง ด้วย
ประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัยว่า น โน สมํ อตฺถิ
ตถาคเตน
รัตนะที่เสมอด้วยตถาคตไม่มีเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความที่พระพุทธรัตนะ อันรัตนะอื่น ๆ
เปรียบไม่ได้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อระงับอุปัทวะที่เกิดแก่สัตว์เหล่านั้น ไม่
ทรงอาศัยชาติ ไม่ทรงอาศัยโคตร ไม่ทรงอาศัยความเป็นกุลบุตร ไม่ทรง
อาศัยความเป็นผู้มีวรรณะงามเป็นต้น หากแต่ทรงอาศัยความที่พระพุทธรัตนะ
ไม่มีอะไรเทียบเทียมได้ด้วยคุณทั้งหลาย มีศีลขันธ์และสมาธิขันธ์เป็นต้น ใน
โลกที่มีอเวจีเป็นต้น มีภวัคคพรหมเป็นที่สุด จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า

อิทมฺปิ พุทฺเธ รัตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ แม้อันนี้ก็
เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้
สัจจวจนะนั้น มีความดังนี้ว่า ความที่พระพุทธเจ้าไม่มีใครเทียบได้
โดยพระคุณทั้งหลายนั้น ๆ กับทรัพย์เครื่องปลื้มใจหรือรัตนะทุกอย่างที่มีใน
โลกนี้หรือโลกอื่น หรือในสวรรค์ทั้งหลายแม้อันนี้ ชื่อว่าเป็นรัตนะอันประณีต
ในพระพุทธเจ้า ก็หากว่า ข้อนี้เป็นสัจจะไซร้ เมื่อเป็นดังนั้น ด้วยสัจจะนี้
ขอความสวัสดีจงมี ขอความที่สิ่งดีงามทั้งหลายมีอยู่ ความไม่มีโรค ความ
ปราศจากอุปัทวะ จงมีแก่สัตว์เหล่านี้. ก็ในข้อนี้ พึงทราบความว่า รัตนะ
ประณีต ได้แก่ ความเป็นรัตนะประณีต คือภาวะที่พระพุทธเจ้าเป็นรัตนะ
ประณีต เหมือนความที่ว่า เพราะเป็นตน หรือเพราะเนื่องอยู่กับตน นี้
ประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า จกฺขุํ โข อานนฺท สุญฺญํ อตฺเตน วา อตฺตนิเยน
วา
ดูก่อนอานนท์ จักษุแลว่างเปล่าจากตน หรือจากสิ่งที่เนื่องอยู่กับตน.
จริงอยู่ นอกจากนี้ จักษุก็เป็นอันปฏิเสธไม่ได้ว่าตน หรือสิ่งที่เนื่องอยู่กับตน
ฉะนั้น . แท้จริง โดยประการนอกจากนี้ พระพุทธเจ้าย่อมไม่สำเร็จเป็นรัตนะ
ด้วยว่ารัตนะไม่มีอยู่ในสิ่งใด สิ่งนั้นก็ย่อมไม่สำเร็จเป็นรัตนะ. แต่ว่ารัตนะที่
เกี่ยวพันโดยวิธีไร ๆ ก็ตาม ที่นับว่าเป็นประโยชน์ มีผู้คนทำความเคารพ
ยำเกรงเป็นต้น มีอยู่ในสิ่งใด เพราะเหตุที่สิ่งนั้น ท่านมุ่งหมายเอาความเป็น
รัตนะ จึงบัญญัติว่ารัตนะ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงสำเร็จว่ารัตนะ เพราะรัตนะ
นั้นมีอยู่. อีกนัยหนึ่ง บทว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ พึงทราบความ
อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นรัตนะ โดยประการแม้นี้. พอพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสพระคาถา ความสวัสดีก็เกิดแก่ราชสกุล ภัยก็ระงับไป พวกอมนุษย์ใน
แสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.

พรรณนาคาถาว่า ขยํ วิราคํ



พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะอย่างนี้แล้ว บัดนี้จึงทรงเริ่ม
ตรัสว่า ขยํ วิราคํ เป็นต้น. ในคำนั้น เพราะเหตุที่กิเลสทั้งหลายมีราคะ
เป็นคนหมดสิ้นไป เพราะทำให้แจ้งพระนิพพาน หรือเพราะเหตุที่พระนิพพาน
นั้น พอกิเลสเหล่านั้นสิ้นไป โดยดับไม่เกิด และเพราะเหตุที่พระนิพพานนั้น
ไม่ประกอบด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น โดยความประจวบ และโดยอารมณ์หรือ
เพราะเหตุที่เมื่อบุคคลทำให้แจ้งพระนิพพานนั้นแล้ว กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็น
ต้น ก็คลายออกไปสิ้นเชิงปราศจากไป ถูกกำจัดไป ฉะนั้นพระนิพพาน ท่าน
จึงเรียกว่า ขยะ ว่า วิราคะ แต่เพราะเหตุที่พระนิพพานนั้น ความเกิดไม่
ปรากฏ ความเสื่อมไม่ปรากฏ ความที่จิตแปรปรวนไม่มี ฉะนั้น พระนิพ-
พานนั้น ท่านจึงทำว่าไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย เรียกว่า อมตะ แต่ [ในที่นี้]
ท่านเรียกว่า ประณีต เพราะอรรถว่า สูงสุด และเพราะอรรถว่า ไม่อิ่ม.
บทว่า ยทชฺฌคา ได้แก่ บรรลุ พบ ได้กระทำให้แจ้งด้วยกำลังญาณ
ของตน ซึ่งพระนิพพานนั้น . บทว่า สกฺยมุนี ได้แก่ ชื่อว่า ศากยะเพราะ
ทรงเป็นโอรสของสกุลศากยะ ชื่อว่า มุนี เพราะประกอบด้วย โมเนยยธรรม
มุนีคือศากยะ ชื่อว่า พระศากยมุนี. บทว่า สมาหิโต ได้แก่ ผู้มีจิตตั้ง
มั่นแล้วด้วยสมาธิเป็นอริยมรรค. บทว่า น เตน ธมฺเมน สมตฺถิ
กิญฺจิ
ความว่า ธรรมชาติไร ๆ ที่เสมอด้วยธรรมที่พระศากยมุนีทรงบรรลุ
แล้ว มีนามว่า ขยะ เป็นต้นนั้น ไม่มี. เพราะฉะนั้น แม้ในพระสูตรอื่นพระผู้
มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้เป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายไม่ว่าเป็น
สังขตะหรืออสังขตะ เพียงใด วิราคธรรม ท่านกล่าวว่าเป็นยอดของธรรม
เหล่านั้น.